ทรี ออฟ ไลฟ์
โปรแกรม ‘ทรี ออฟ ไลฟ์’ คือ โปรแกรมใหม่ด้านความยั่งยืนที่เริ่มมีผลบังคับใช้กับโรงแรม รีสอร์ต และวิลล่าในเครือดุสิตธานีทั่วโลก
โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างหลักประกันให้มั่นใจได้ว่าบริษัทฯ มุ่งมั่นรักษาคำมั่นสัญญาที่จะสร้างผลกระทบเชิงบวกในทุกหนแห่งที่เข้าไปดำเนินธุรกิจ ตอกย้ำถึงความยั่งยืนที่เป็นหนึ่งในแกนหลักของการมอบการบริการแบบดุสิต หรือ Dusit Graciousness นั่นเอง โดยจะเริ่มดำเนินการในกลุ่มธุรกิจโรงแรมก่อน
- เพื่อแสดงคำมั่นของกลุ่มดุสิตต่อเส้นทางสู่ความยั่งยืน
- เพื่อขับเคลื่อนแนวทางการดำเนินงานหลักด้านความยั่งยืน
- เพื่อใช้เป็นเกณฑ์ภายใน และขับเคลื่อนความสำเร็จด้านความยั่งยืนของแต่ละโรงแรม
สร้างรากฐานเพื่ออนาคตที่ดีกว่าเดิม
เพราะสิ่งที่ทำในวันนี้ส่งผลไปถึงอนาคตในวันหน้า ด้วยเหตุนี้โปรแกรม ทรี ออฟ ไลฟ์ จึงเป็นการส่งสารที่บ่งบอกถึงเจตนารมณ์ด้านความยั่งยืนของกลุ่มดุสิตธานีได้อย่างชัดเจน ด้วยขั้นตอนง่ายๆ ที่ทีมงานของโรงแรมสามารถนำมาปฏิบัติตามได้จริง เพื่อสร้างประโยชน์ให้กับสิ่งแวดล้อม เพื่อนร่วมงาน ชุมชนและสังคมโดยรวม พูดให้เข้าใจง่ายๆ ว่าโปรแกรมนี้ช่วยเพิ่มความมั่นใจให้เราดำเนินธุรกิจและส่งมอบการบริการที่มาจากความใส่ใจต่อสิ่งแวดล้อมและสังคมอย่างแท้จริง โดยต้องอาศัยความร่วมมือร่วมใจกันภายในองค์กรและการสื่อสารอย่างสม่ำเสมออันจะเป็นกุญแจสำคัญที่จะทำให้โปรแกรมประสบความสำเร็จ
ภาพรวมของ ทรี ออฟ ไลฟ์
โปรแกรมนี้มีเกณฑ์วัดผลการดำเนินงานทั้งหมด 31 ข้อ โดยพิจารณาจากผลกระทบในมิติด้านสิ่งแวดล้อม มิติด้านสังคม และมิติด้านบรรษัทภิบาล (ESG) เป็นสำคัญเพื่อให้มั่นใจได้ว่าโรงแรม รีสอร์ต และวิลล่าภายใต้เครือดุสิตธานีมีการดำเนินงานอย่างยั่งยืนเท่าที่จะสามารถทำได้
ทรี ออฟ ไลฟ์ จัดผลสำเร็จในการดำเนินงาน สำหรับโรงแรม รีสอร์ต และวิลล่า เป็น 4 ระดับ เริ่มจากระดับ 1 ที่เป็นภาคบังคับสำหรับทุกแห่งที่จะต้องผ่านเกณฑ์ฯ ขั้นพื้นฐานที่กำหนด 8 ข้อ เมื่อผ่านเกณฑ์ตามที่กำหนดไว้ โรงแรมจะได้รับ ‘สัญลักษณ์ใบไม้ ตามลำดับความสำเร็จในการดำเนินงาน ยิ่งได้รับใบไม้มากยิ่งแสดงถึงความสำเร็จของโรงแรมนั้นๆ
โปรแกรมนี้ มุ่งเน้นที่การใช้น้ำและพลังงาน การจัดการขยะ และการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก (GHG) โรงแรมที่ผ่านเกณฑ์บังคับขั้นพื้นฐานในระดับ 1 จึงจะสามารถเลื่อนขึ้นไปยังลำดับถัดไปได้
ร่วมกันสร้างความยั่งยืน
ระดับ | หลักเกณฑ์ |
---|---|
ระดับที่ 1 (ภาคบังคับ)
|
|
ระดับที่ 2
ระดับที่ 3
ระดับที่ 4
|
น้ำ:
|
ของเสีย:
|
|
พลังงานและก๊าซเรือนกระจก:
|
|
การบริโภคอย่างรับผิดชอบ:
|
|
ผู้คนและชุมชน:
|
|
การประสานความร่วมมือและการรับรู้ของสาธารณะ:
|
คำมั่นของเรา
The Code
ดุสิตตระหนักดีถึงความเสี่ยงด้านการคุกคามทางเพศซึ่งเป็นปัญหาในระดับโลก รวมถึงการค้าประเวณีที่เกิดขึ้นในอุตสาหกรรมการเดินทางและการท่องเที่ยว ด้วยคำมั่นหนึ่งของบริษัทในการต่อต้านการล่วงละเมิดเด็กและปกป้องเด็กจากการแสวงหาประโยชน์ทางเพศ
ดุสิตเป็นผู้นำในประเทศไทยในการเข้าร่วม The Code (ซึ่งย่อมาจาก The Code of Conduct for the Protection of Children from Sexual Exploitation in Travel and Tourism) ตั้งแต่ปี 2563 ด้วยคำมั่นดังกล่าว บริษัทได้ผนวกกรอบการดำเนินงานเพื่อปกป้องเด็กจากการถูกแสวงหาประโยชน์ทางเพศในเชิงพาณิชย์เข้าไว้ในนโยบายของบริษัท รวมถึงการอบรมและทำความเข้าใจกับพนักงาน สำหรับเครือโรงแรมดุสิตธานีในประเทศไทยไม่ว่าจะเป็นโรงแรมที่บริษัทเป็นเจ้าของโรงแรมที่บริษัทบริหาร หรือ โรงแรมที่เป็นแฟรนไชส์ โดยจะต้องรายงานทั้งกรณีที่เกิดขึ้นหรือน่าสงสัยว่าจะเกิดขึ้นต่อผู้จัดการทั่วไปของโรงแรมในทันทีที่ทราบ และรายงานต่อไปยังฝ่ายทรัพยากรบุคคลของสำนักงานส่วนกลางภายใน 24 ชั่วโมง
WTTC Declaration
บริษัทได้ลงนามในประกาศของสภาการท่องเที่ยวและการเดินทางโลก (WTTC) ว่าด้วยการค้าสัตว์ป่าอย่างผิดกฎหมาย ในการต่อต้านการแสวงหาผลประโยชน์จากสัตว์ที่อยู่ในสภาวะถูกคุกคามมีแนวโน้มเสี่ยงสูญพันธุ์ และเพื่อปกป้องชุมชนและสัตว์ป่า ด้วยคำมั่นนี้ เราได้นำมาตรการทางปกครองมาใช้ดังนี้:
- ไม่ยอมรับการกระทำใด ๆ เกี่ยวกับการค้าสัตว์ป่าอย่างผิดกฎหมาย
- เข้าร่วมในการกำจัดตลาดสินค้าจากสัตว์ป่าและสัตว์ใกล้สูญพันธุ์ออกจากห่วงโซ่อุปทานของเรา
- เน้นย้ำถึงการจัดหาทรัพยากรอาหารทะเลอย่างรับผิดชอบ
ปกป้องสัตว์ที่อยู่ในภาวะเสี่ยง
บริษัทได้ห้ามการขายสัตว์ที่อยู่ในภาวะเสี่ยงจำนวน 6 ชนิด ตั้งแต่ปี 2562 ได้แก่ ฉลามและหูฉลาม (จากทุกแหล่ง) เต่าทะเลและไข่เต่า (วงศ์ Cheloniidae และวงศ์ Dermochelyidae families จากทุกแหล่ง); ปลาหิมะ (Dissostichus eleginoides, จากทุกแหล่ง); ปลาบึก (Pangasianodon gigas, จากทุกแหล่ง); ปลาเก๋าแอตแลนติคยักษ์หรือปลาหมอทะเล (Epinephelus itajara, จากการจับจากธรรมชาติ) และปลาออเร้นจ์รัฟฟี่หรือปลาหัวเมือก (Hoplostethus atlanticus จากการจับจากธรรมชาติ) และในปี 2565 คณะกรรมการความยั่งยืนของกลุ่มดุสิตได้เห็นชอบการเพิ่มสัตว์อีก 2 ชนิดเข้าไว้ในรายการห้ามขาย ซึ่งได้แก่ Parrotfish (วงศ์ Scaridae จากทุกแหล่ง) and Napolean Wrasses (Cheilinus undulatus, จากทุกแหล่ง)