15 พฤศจิกายน 2539
นำส่งงบการเงินไตรมาสที่ 3/2539
รายงานของผู้สอบบัญชี
เสนอคณะกรรมการ
บริษัท ดุสิตธานี จำกัด (มหาชน)
ข้าพเจ้าได้สอบทานงบดุล ลงวันที่ 30 กันยายน 2539 และ 2538 และ
งบกำไรขาดทุนประจำแต่ละไตรมาสและประจำแต่ละงวดเก้าเดือนสิ้นสุดเพียงวันเดียวกัน
ตามลำดับของ บริษัท ดุสิตธานี จำกัด (มหาชน) ตามมาตรฐานที่กำหนดโดยสมาคม
นักบัญชีและผู้สอบบัญชีรับอนุญาตแห่งประเทศไทย
ส่วนได้เสียในกำไร (ขาดทุน) สุทธิที่ยังไม่ได้แบ่งของบริษัทย่อยและบริษัทร่วม
ซึ่งคำนวณจากงบการเงินที่ยังมิได้ผ่านการสอบทาน มีจำนวนเท่ากับ (29,957) พันบาท
และ 1,606 พันบาท สำหรับไตรมาสสิ้นสุดเพียงวันที่ 30 กันยายน 2539 และ 2538
ตามลำดับ และ (83,699) พันบาท และ 2,075 พันบาท สำหรับงวดเก้าเดือน
สิ้นสุดเพียงวันที่ 30 กันยายน 2539 และ 2538 ตามลำดับ
การสอบทานงบการเงินระหว่างกาลนี้ส่วนใหญ่ประกอบด้วย การทำความเข้าใจ
เกี่ยวกับระบบในการจัดทำงบการเงิน การใช้วิธีวิเคราะห์เปรียบเทียบในการวิเคราะห์
ข้อมูลทางการเงิน และการสอบถามเจ้าหน้าที่ของบริษัทผู้มีหน้าที่เกี่ยวข้องทางการเงิน
และบัญชี ซึ่งการสอบทานนี้มีขอบเขตจำกัดกว่าการตรวจสอบตามมาตรฐานการสอบบัญชีที่
รับรองทั่วไปเพื่อแสดงความเห็นต่องบการเงินมาก ดังนั้นข้าพเจ้าจึงไม่อาจแสดงความเห็น
ต่องบการเงินที่สอบทานได้
ยกเว้นเรื่องที่กล่าวไว้ในวรรคที่สอง ข้าพเจ้าไม่พบสิ่งที่เป็นสาระสำคัญซึ่งควร
นำมาปรับปรุง งบการเงินระหว่างกาลที่กล่าวในวรรคแรกให้เป็นไปตามหลักการบัญชีที่รับ
รองทั่วไป จากการสอบทานของข้าพเจ้าดังกล่าวข้างต้น
เติมศักดิ์ กฤษณามระ
กรุงเทพมหานคร ผู้สอบบัญชีรับอนุญาตเลขที่ 1106
วันที่ 9 พฤศจิกายน 2539 สำนักงานไชยยศ
.pa
บริษัท ดุสิตธานี จำกัด (มหาชน)
งบดุล
ลงวันที่ 30 กันยายน
ยังไม่ได้ตรวจสอบ
หน่วย : พันบาท
2539 2538
สินทรัพย์
สินทรัพย์หมุนเวียน
เงินสดและเงินฝากธนาคาร 44,418 53,131
เงินลงทุนระยะสั้น 442,000 1,288,016
ลูกหนี้การค้าและตั๋วเงินรับ สุทธิ 78,086 65,818
สินค้าคงเหลือ 26,476 22,898
สินทรัพย์หมุนเวียนอื่น 114,764 96,722
705,744 1,526,585
เงินลงทุนและเงินให้กู้ยืมแก่บริษัทในเครือ บริษัทร่วมและบริษัทอื่น 2,903,867 1,397,475
ที่ดิน อาคารและอุปกรณ์ สุทธิ 633,785 672,070
สินทรัพย์อื่น 18,885 20,249
รวม 4,262,281 3,616,379
หนี้สินและส่วนของผู้ถือหุ้น
หนี้สินหมุนเวียน
เงินเบิกเกินบัญชีและเงินกู้ยืมจากธนาคาร 970,747 225,126
เจ้าหนี้การค้าและตั๋วเงินจ่าย 58,505 46,079
ส่วนของหนี้สินระยะยาวที่ถึงกำหนดชำระภายในหนึ่งปี 152,820 150,720
หนี้สินหมุนเวียนอื่น 142,274 125,042
1,324,346 546,967
เงินกู้ยืมระยะยาว 764,100 879,200
ส่วนของผู้ถือหุ้น 2,173,835 2,190,212
รวม 4,262,281 3,616,379
ดูหมายเหตุประกอบงบการเงินระหว่างกาล
สอบทานแล้ว
.pa
บริษัท ดุสิตธานี จำกัด (มหาชน)
งบกำไรขาดทุน
ยังไม่ได้ตรวจสอบ
หน่วย : พันบาท
ประจำไตรมาสสิ้นสุด ประจำงวดเก้าเดือนสิ้นสุด
เพียงวันที่ 30 กันยายน เพียงวันที่ 30 กันยายน
2539 2538 2539 2538
รายได้
รายได้จากการขายและการบริการ 244,974 240,661 781,546 758,324
ดอกเบี้ยรับ 23,956 39,378 75,608 117,309
รายได้อื่น 18,277 33,173 86,205 82,385
รวมรายได้ 287,207 313,212 943,359 958,018
ค่าใช้จ่าย
ต้นทุนขายและบริการ 159,281 160,017 483,830 492,921
ค่าใช้จ่ายอื่น 90,395 108,405 295,491 251,556
ภาษีเงินได้ 11,748 12,060 44,167 62,444
รวมค่าใช้จ่าย 261,424 280,482 823,488 806,921
กำไรก่อนรวมส่วนได้เสียในบริษัทย่อยและบริษัทร่วม 25,783 32,730 119,871 151,097
หัก ส่วนได้เสียในขาดทุนสุทธิที่ยังไม่ได้แบ่งของ
บริษัทย่อยและบริษัทร่วม 38,204 26,803 104,383 29,739
กำไร (ขาดทุน) สุทธิ (12,421) 5,927 15,488 121,358
กำไร (ขาดทุน) สุทธิต่อหุ้น
ประจำไตรมาส
กำไรก่อนรวมส่วนได้เสียในบริษัทย่อย
และบริษัทร่วม บาท 0.43 0.74
กำไร (ขาดทุน) สุทธิ บาท (0.21) 0.13
ประจำงวดเก้าเดือน
กำไรก่อนรวมส่วนได้เสียในบริษัทย่อย
และบริษัทร่วม บาท 2.00 3.39
กำไรสุทธิ บาท 0.26 2.72
ดูหมายเหตุประกอบงบการเงินระหว่างกาล
สอบทานแล้ว
บริษัท ดุสิตธานี จำกัด (มหาชน)
หมายเหตุประกอบงบการเงินระหว่างกาล
ประจำไตรมาสและประจำงวดเก้าเดือนสิ้นสุดเพียงวันที่ 30 กันยายน 2539 และ 2538
1. ภาษีเงินได้
ภาษีเงินได้คำนวณจากกำไรสุทธิของบริษัทโดยใช้วิธีราคาทุนในการแสดงเงินลงทุนในบริษัทย่อยและ
บริษัทร่วม
2. การจัดประเภทรายการใหม่
รายการในงบการเงินระหว่างกาลประจำไตรมาส และประจำงวดเก้าเดือนสิ้นสุดเพียงวันที่ 30
กันยายน 2538 บางรายการได้มีการจัดประเภทใหม่เพื่อให้สอดคล้องกับรายการในงบการเงิน
ระหว่างกาลประจำไตรมาสและประจำงวดเก้าเดือนสิ้นสุดเพียงวันที่ 30 กันยายน 2539
3. เหตุการณ์ภายหลังวันที่ในงบการเงิน
ในการประชุมผู้ถือหุ้นเมื่อวันที่ 22 ตุลาคม 2539 ประธานกรรมการบริษัทได้แจ้งให้ผู้ถือหุ้นทราบ
ว่าองค์การรถไฟฟ้ามหานคร มีแผนการจะใช้พื้นที่บริเวณลานจอดรถของโรงแรมเป็นที่ก่อสร้าง
สถานีรถไฟฟ้าใต้ดิน โดยใช้ระยะเวลาในการก่อสร้างประมาณ 5 ปี ตลอดระยะเวลาดังกล่าว
การดำเนินงานของโรงแรมจะได้รับผลกระทบอย่างมาก
ที่ประชุมผู้ถือหุ้นจึงมีมติให้ประธานกรรมการบริษัทและ/หรือกรรมการที่คณะกรรมการมอบหมายมี
อำนาจเต็มในการเจรจาต่อรองกับส่วนราชการที่เกี่ยวข้องหรือกระทำการใด ๆ ที่เห็นว่าเป็นการ
รักษาผลประโยชน์ของบริษัทในเรื่องดังกล่าวข้างต