04 July 2001
ชี้แจงข้อเท็จจริงเรื่องกรณีพิพาทอาคารโรงแรมดุสิตรีสอร์ทพัทยา
3 กรกฎาคม 2544
เรื่อง ชี้แจงข้อเท็จจริงเกี่ยวกับข่าวเรื่องกรณีพิพาทอาคารโรงแรมดุสิตรีสอร์ท พัทยา
เรียน กรรมการและผู้จัดการ
ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
ตามที่มีข่าวลงในหนังสือพิมพ์เกี่ยวกับกรณีพิพาทอาคารโรงแรมดุสิตรีสอร์ท พัทยา ระหว่าง
บมจ.ดุสิตธานี กับ บ.เวิลด์ อินเตอร์เทรด คอร์ปอเรชั่น นั้น ข่าวที่ปรากฎในหน้าหนังสือพิมพ์ไม่ตรงกับ
ข้อเท็จจริง จึงขอเรียนชี้แจงดังนี้
เมื่อวันที่ 7 กันยายน 2530 บ.แลนด์มาร์ค โฮเต็ล ซึ่งเป็นบริษัทย่อยของ บมจ.ดุสิตธานี โดย
บริษัทถือหุ้นอยู่ร้อยละ 99.99 ได้ทำสัญญาซื้อขายอาคารโรงแรมแกรนด์ พาเลซรวมทั้งส่วนควบ
อุปกรณ์ และเครื่องใช้ในการประกอบกิจการโรงแรม จาก บ.เวิลด์ อิเตอร์เทรด คอร์ปอเรชั่น โดยใน
สัญญาดังกล่าวระบุให้ บ.แลนด์มาร์ค โฮเต็ล ชำระเงินจำนวน 6 ล้านเหรียญสหรัฐ ซึ่งในขณะนั้นเทียบ
เท่า 154.14 ล้านบาทให้แก่ บ.วอร์ดลี แบงค์ ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ของ บ.เวิลด์ อินเตอร์เทรด คอร์ปอเรชั่น
ซึ่งถือว่าเป็นการชำระราคาอาคารที่ซื้อขายกัน และในสัญญาซื้อขายมีเงื่อนไขว่า คุณธเนศ เตลาน
และคุณตรีทิพย์ เตลาน มีสิทธิ์ซื้อโรงแรมคืนได้ภายใน 10 ปี นับจากวันทำสัญญา ซึ่งครบกำหนดใน
วันที่ 6 กันยายน 2540
อาคารโรงแรมแกรนด์ พาเลซ ที่ซื้อขายกันนั้นตั้งอยู่บนที่ดินของ บ.สิริพัทยา ซึ่งก่อนการซื้อ
ขาย บ.เวิลด์ อินเตอร์เทรด คอร์ปอเรชั่น ได้ทำสัญญาเช่าที่ดินกับ บ.สิริพัทยา เป็นเวลา 30 ปี นับตั้ง
แต่ปี 2518 ถึงปี 2548 แต่ บ.เวิลด์ อินเตอร์เทรด คอร์ปอเรชั่น ได้ยกเลิกสัญญาเช่ากับ บ. สิริ
พัทยาก่อนสัญญาครบกำหนด บ.แลนด์มาร์ค โฮเต็ล จึงจดทะเบียนเช่าที่ดินกับ บ.สิริพัทยา เมื่อ
วันที่ 30 กันยายน 2530 ที่กรมที่ดินมีกำหนด 30 ปี นับตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2530 ในครั้งนั้น บ.แลนด์
มาร์ค โฮเต็ล ยังต้องชำระค่าเช่าที่ดินค้างชำระแทนบริษัท เวิลด์ อินเตอร์เทรด คอร์ปอเรชั่น จำนวน 10
ต่อหน้า … / 2
ล้านบาทเศษ และภาษีโรงเรือนค้างชำระให้แก่เทศบาลเมืองพัทยาตั้งแต่ปี 2527 - 2529 อีกจำนวน 2
ล้านบาทเศษด้วย
ต่อมา บ.แลนด์มาร์ค โฮเต็ล ได้ปิดโรงแรมแกรนด์ พาเลซ และปรับปรุงตกแต่งใหม่ทั้งหมด
เพราะขณะนั้นโรงแรมอยู่ในสภาพที่ไม่สามารถประกอบกิจการได้ การปรับปรุงตกแต่งใช้เงินไปทั้งหมด
ประมาณ 400 ล้านบาทเศษ และเปิดดำเนินกิจการเมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายน 2531 โดยใช้ชื่อใหม่ว่า
โรงแรมดุสิตรีสอร์ท พัทยา
เนื่องจาก บ.แลนด์มาร์ค โฮเต็ลเป็นบริษัทย่อยของ บมจ.ดุสิตธานี และ บมจ.ดุสิต
ธานี มีทีมงานบริหารโรงแรมอยู่แล้ว บ.แลนด์มาร์ค โฮเต็ล จึงได้ทำสัญญาว่าจ้างให้ บมจ.
ดุสิตธานี บริหารกิจการโรงแรมดุสิตรีสอร์ท พัทยา เป็นระยะเวลา 10 ปี ดังนั้นข่าวที่ว่า บ.
เวิลด์ อินเตอร์เทรด คอร์ปอเรชั่น ทำสัญญาว่าจ้างให้ บมจ.ดุสิตธานี บริหารโรงแรมดังกล่าว
และ บมจ.ดุสิตธานี ถือโอกาสยึดโรงแรมจากคุณธเนศนั้น จึงไม่เป็นความจริงแต่ประการใด
บ.แลนด์มาร์ค โฮเต็ล มีทุนจดทะเบียนเพียง 10 ล้านบาท ดังนั้นเงินที่ใช้ซื้อกิจการและตกแต่ง
โรงแรมจึงต้องกู้มาแทบทั้งสิ้น โดยกู้เป็นจำนวน 559.2 ล้านบาท ทำให้มีภาระดอกเบี้ยจ่ายสูง
ประกอบกับผลประกอบการของโรงแรมในขณะนั้นไม่ดีเท่าที่ควร จึงทำให้มีผลขาดทุนมาโดยตลอด
จนถึง 31 มกราคม 2537 มีผลขาดทุนสะสมจำนวน 305 ล้านบาท ดังนั้น เมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์
2537 จึงจำเป็นต้องโอนกิจการโรงแรมดุสิตรีสอร์ท พัทยามาอยู่ภายใต้ บมจ.ดุสิตธานี แต่ถึงกระนั้น
บมจ.ดุสิตธานี ก็ยังรับรองเงื่อนไขที่จะให้ คุณธเนศ เตลาน และคุณตรีทิพย์ เตลาน ซื้อโรงแรมคืนได้
ภายในกำหนดเดิม คือภายในวันที่ 6 กันยายน 2540 ตลอดระยะเวลา 10 ปีที่ผ่านมา คุณธเนศ
และคุณตรีทิพย์ มิได้แสดงเจตนาในการซื้อโรงแรมคืนแต่อย่างใด เมื่อวันที่ 25 สิงหาคม 2541
คุณธเนศ เตลาน ได้ยื่นฟ้อง บ.แลนด์มาร์ค โฮเต็ล เป็นจำเลยที่ 1 บ.เวิลด์ อินเตอร์เทรด เป็นจำเลยที่
2 บมจ. ดุสิตธานี เป็นจำเลยที่ 3 และ คุณตรีทิพย์ เตลาน เป็นจำเลยที่ 4 ต่อศาลแพ่งกรุงเทพใต้ เพื่อ
ขอให้ศาลสั่งให้ บมจ.ดุสิตธานี ขายโรงแรมดุสิตรีสอร์ท พัทยา ให้แก่คุณธเนศ เตลานในราคา 154
ล้านบาท มิเช่นนั้นให้ชดเชยค่าเสียหายแก่คุณธเนศเป็นเงิน 1,045,860,000 บาท
ต่อหน้า…/ 3
เมื่อวันที่ 17 สิงหาคม 2543 ศาลแพ่งกรุงเทพใต้ได้มีคำพิพากษายกฟ้อง โดยศาลไม่ได้ทำ
การไต่สวน บมจ.ดุสิตธานี และบ.แลนด์มาร์ค โฮเต็ล แต่อย่างใด จึงเป็นอันว่า คุณธเนศ เตลาน
ไม่สามารถเรียกร้องค่าเสียหายตามฟ้องจำนวน 1,045,860,000 บาท ได้อีกต่อไป และเมื่อวันที่ 30
เมษายน 2544 บริษัทได้ยื่นคำร้องต่อศาลจังหวัดพัทยา เพื่อขอให้ศาลมีคำสั่งแสดงว่าบริษัทได้
กรรมสิทธิ์ในอาคารโรงแรมโดยการครอบครองกว่า 10 ปี ต่อมาเมื่อวันที่ 26 มิถุนายน 2544 บริษัทได้
ถอนคำร้องขอครอบครองปรปักษ์ เนื่องจากบริษัทจะยื่นคำร้องขอไต่สวนฉุกเฉินเกี่ยวกับเรื่องนี้ ซึ่งหาก
ไม่ถอนคำร้องเก่าออก คำร้องใหม่ก็จะถือเป็นการฟ้องซ้อนในประเด็นเดิม
ต่อมาบริษัทได้ทราบข่าวว่า เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ จะเข้าปิดหมายยึดทรัพย์อาคารโรงแรม
ดุสิตรีสอร์ท พัทยา ในวันที่ 21 มิถุนายน 2544 เนื่องจาก บ.เวิลด์ อินเตอร์เทรด คอร์ปอเรชั่น ถูกฟ้อง
ล้มละลายโดยกรมสรรพากรเป็นโจทก์ โดยมีเจ้าหนี้ที่ขอรับชำระหนี้ 2 ราย คือ กรมสรรพากรและ
ธนาคารกรุงเทพ บริษัทจึงได้ยื่นคำร้องต่อกรมสรรพากรเพื่อขอเลื่อนกำหนดการปิดหมายออกไปจนถึง
วันที่ 29 มิถุนายน 2544
ในวันที่ 26 มิถุนายน 2544 ที่ประชุมคณะกรรมการบริษัทได้มีมติให้บริษัทนำเงินจำนวน
44,246,000 บาทไปยื่นแถลงชำระต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์แทนบ.เวิลด์ อินเตอร์เทรด คอร์ปอเรชั่น
เพื่อเป็นการระงับความเสียหายอันอาจเกิดขึ้นต่อภาพลักษณ์ของบริษัทและกิจการโรงแรมดุสิตรีสอร์ท
พัทยา โดยอาศัยประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 230 แต่ทางกรมบังคับคดีปฏิเสธไม่รับเงิน
จำนวนดังกล่าว โดยแจ้งว่า กรมบังคับคดีไม่ใช่ผู้ดำเนินการแทนเจ้าหนี้ในอันที่จะตัดสินใจรับชำระหนี้
โดยจะนัดพร้อมลูกหนี้ เจ้าหนี้ และผู้ร้องในวันที่ 3 กรกฎาคม 2544
จากผลของการนัดพร้อมดังกล่าวในวันนี้ เจ้าหนี้ทั้ง 2 ราย ยอมรับชำระหนี้ที่ บมจ. ดุสิตธานี
จะชำระแทน เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์พิจารณาแล้ว จึงรับชำระหนี้ดังกล่าว
จึงเรียนมาเพื่อทราบ
ขอแสดงความนับถือ
(ท่านผู้หญิงชนัตถ์ ปิยะอุย)
ประธานกรรมการและกรรมการผู้จัดการ
2
3