15 August 2000
หมายเหตุงบการเงินไตรมาสสิ้นสุด30มิ.ย.43
บริษัท ดุสิตธานี จำกัด (มหาชน) และบริษัทย่อย
หมายเหตุประกอบงบการเงินระหว่างกาล
สำหรับไตรมาสและงวดหกเดือนสิ้นสุดวันที่ 30 มิถุนายน 2543 และ 2542
(ยังไม่ได้ตรวจสอบ)
1. ความผันผวนทางเศรษฐกิจของภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก
ประเทศไทยและประเทศในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกหลายประเทศได้ประสบปัญหาทางเศรษฐกิจ
มาตั้งแต่ พ.ศ. 2540 งบการเงินรวมและงบการเงินเฉพาะของบริษัทได้รวมถึงผลกระทบของ
สถานการณ์ทางเศรษฐกิจที่มีต่อฐานะการเงินของบริษัทและบริษัทย่อยตามที่ผู้บริหารได้ประเมินไว้
แล้ว
2. เกณฑ์การเสนองบการเงินระหว่างกาล
2.1 งบการเงินรวมและงบการเงินเฉพาะของบริษัทสำหรับไตรมาสและงวดหกเดือน สิ้นสุด
วันที่
30 มิถุนายน 2543 และ 2542 ได้จัดทำขึ้นโดยผู้บริหารของบริษัท โดยยังมิได้มีการตรวจสอบ
อย่างไรก็ตาม บริษัทเห็นว่างบการเงินดังกล่าวได้มีการปรับปรุงเพื่อให้แสดงฐานะการเงิน
และผลการดำเนินงานอย่างถูกต้องตามที่ควรแล้ว
งบการเงินรวมและงบการเงินเฉพาะของบริษัทได้จัดทำขึ้นตามข้อบังคับของตลาดหลักทรัพย์
แห่งประเทศไทย ลงวันที่ 22 พฤศจิกายน 2542 เรื่องการจัดทำและส่งงบการเงินและราย
งานเกี่ยวกับฐานะการเงินและผลการดำเนินงานของบริษัทจดทะเบียน (ฉบับที่ 1) พ.ศ.
2542 และเป็นไปตามหลักการบัญชีที่รับรองทั่วไปในประเทศไทย
สำหรับงบดุลรวมและงบดุลของของบริษัท ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2542 ซึ่งนำมาแสดงเปรียบ
เทียบ
ได้มาจากงบการเงินของบริษัทและบริษัทย่อย สำหรับปีสิ้นสุดวันเดียวกันซึ่งได้ตรวจสอบแล้ว
ในงบการเงินรวมและงบการเงินเฉพาะของบริษัทสำหรับไตรมาส และงวดหกเดือนสิ้นสุดวันที่
30 มิถุนายน 2542 ในงบกระแสเงินสดได้มีการจัดรายการผลต่างจากอัตราแลกเปลี่ยน
ในการแปลงค่างบการเงินของบริษัทย่อย โดยให้แสดงเป็นรายการปรับปรุงในแต่ละรายการ
ที่เกี่ยวข้อง และส่วนที่เหลือแสดงเป็นผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงในอัตราแลกเปลี่ยน
ที่มีต่อเงินสด
.../2
- 2 -
ข้อมูลบางประการซึ่งควรจะแสดงอยู่ในงบการเงินที่จัดทำขึ้นตามหลักการบัญชีที่รับรองทั่วไป
มิได้นำมาแสดงไว้ ณ ที่นี้ เนื่องจากมิได้มีการกำหนดให้มีการเปิดเผยข้อมูลดังกล่าวในงบการ
เงินระหว่างกาล ดังนั้น งบการเงินรวมและงบการเงินเฉพาะของบริษัทดังกล่าวข้างต้นจึงควร
จะอ่านประกอบกับงบการเงินรวมและงบการเงินเฉพาะของบริษัทและหมายเหตุประกอบงบการ
เงินสำหรับปีสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2542 ซึ่งได้มีการตรวจสอบแล้ว
2.2 งบการเงินระหว่างกาลรวมแสดงรายการบัญชีรวมของบริษัทย่อยดังต่อไปนี้
อัตราการถือหุ้นร้อยละ
30 มิถุนายน 31 ธันวาคม
2543 2542 2542
บริษัท ดุสิตโฮเต็ล แอนด์ รีสอร์ท จำกัด
(เดิมชื่อ บริษัท ดุสิตรีสอร์ท ชะอำ จำกัด) 97.41 97.09 97.32
บริษัท รอยัล ปริ๊นเซส จำกัด (มหาชน) 79.65 79.65 79.65
บริษัท โคราชธานี จำกัด ถือหุ้นโดย
บริษัท รอยัล ปริ๊นเซส จำกัด (มหาชน) 68.00 68.00 68.00
บริษัท ทรัพย์สินธานี จำกัด ถือหุ้นโดย
บริษัท รอยัล ปริ๊นเซส จำกัด (มหาชน) 100.00(2) 60.00 77.46(2)
Philippine Hoteliers, Inc. 85.76 85.76 85.76
บริษัท ดุสิตธานี เดลาแวร์ จำกัด - (3) 100.00(1) 100.00
บริษัท ดุสิตธานี อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด 99.99 99.99(1) 99.99
บริษัท เทวารัณย์ สปา จำกัด 99.99 - -
(1) ยังไม่ได้สอบทาน
(2) รวมหุ้นบุริมสิทธิซึ่งมีสิทธิได้รับเงินปันผล และออกเสียงในที่ประชุมผู้ถือหุ้นเช่น
เดียวกับหุ้นสามัญ
(3) ณ วันที่ 30 มิถุนายน 2543 บริษัทย่อยแห่งนี้อยู่ในระหว่างการชำระบัญชี และ
ไม่มียอดคงเหลืออยู่ในบัญชีที่จะต้องนำมารวม
ณ วันที่ 30 มิถุนายน 2543 บริษัท ดุสิตโฮเต็ล แอนด์ รีสอร์ท จำกัด (เดิมชื่อ บริษัท ดุสิตรี
สอร์ท
ชะอำ จำกัด) ได้ถือหุ้นสามัญ ของบริษัท เป็นจำนวน 106,300 หุ้น ราคาทุน 2.64 ล้านบาท
โดยจัดประเภทเป็นหลักทรัพย์ที่มีไว้เผื่อขายในงบดุลรวม และมิได้นำมาหักจากส่วนของผู้ของผู้
ถือหุ้น เนื่องจากจำนวนไม่มีสาระสำคัญ
…/3
- 3 -
รายการบัญชีและยอดคงค้างระหว่างกันที่สำคัญได้ตัดออกหมดแล้ว
งบการเงินสำหรับไตรมาสและงวดหกเดือนสิ้นสุดวันที่ 30 มิถุนายน 2543 ของ บริษัท โคราช
ธานี จำกัด สอบทานโดยผู้ตรวจสอบบัญชีอื่นในสำนักงานเดียวกันซึ่งมิได้ให้ความเชื่อมั่นใด ๆ
ต่องบการเงินดังกล่าว เนื่องจากความไม่แน่นอนอย่างมีสาระสำคัญเกี่ยวกับความสามารถใน
การดำเนินงานอย่างต่อเนื่องของบริษัท และในเดือนธันวาคม 2542 เจ้าหนี้ได้ยื่นฟ้องบริษัทนี้
ให้ชำระหนี้แล้ว ณ วันที่ 30 มิถุนายน 2543 บริษัทมีส่วนได้เสียในส่วนของผู้ถือหุ้นของบริษัท
โคราชธานี จำกัด ในทางอ้อม ร้อยละ 54.16 และบริษัทนี้มีสินทรัพย์รวม 210.60 ล้านบาท
และมี
รายได้รวม สำหรับไตรมาสและงวดหกเดือนสิ้นสุดวันที่ 30 มิถุนายน 2543 จำนวน 13.72
ล้านบาท และ 31.02 ล้านบาท ตามลำดับ หรือร้อยละ 5.42 ร้อยละ 2.31 และร้อยละ
2.41 ของแต่ละยอด
ที่เกี่ยวข้องในงบการเงินรวม
งบการเงินสำหรับไตรมาสและงวดหกเดือนสิ้นสุดวันที่ 30 มิถุนายน 2543 ของบริษัท ทรัพย์
สินธานี จำกัด สอบทานโดยผู้ตรวจสอบบัญชีอื่นในสำนักงานเดียวกัน ซึ่งได้รายงานว่าไม่พบสิ่ง
ที่เป็นสาเหตุให้เชื่อว่างบการเงินของบริษัทไม่ถูกต้องตามที่ควรในสาระสำคัญตามหลักการบัญชี
ที่รับรองทั่วไป โดยมีวรรคอธิบายในเรื่องความไม่แน่นอนเกี่ยวกับความสามารถในการดำเนิน
งาน
อย่างต่อเนื่องของบริษัท ฝ่ายบริหารของบริษัทมีแผนเพื่อปรับปรุงในเรื่องดังกล่าวแล้ว โดย
บริษัทได้เพิ่มทุนโดยออกหุ้นบุริมสิทธิ ในระหว่างปี 2542 และได้ทำสัญญากับเจ้าหนี้เพื่อ
ปรับโครงสร้างหนี้แล้ว นอกจากนั้นบริษัทย่อยจะปรับเปลี่ยนนโยบายทางด้านการตลาดเพื่อให้มี
กระแสเงินสดจากการดำเนินงานเพิ่มขึ้น เมื่อวันที่ 26 เมษายน 2543 ที่ประชุมผู้ถือหุ้นของ
บริษัท ทรัพย์สินธานี จำกัด ได้มีมติพิเศษให้ลดทุนจดทะเบียนของบริษัทลงจาก 213.00 ล้าน
บาท เป็น 53.25 ล้านบาท โดยลดมูลค่าลงจากเดิมหุ้นละ 100 บาท เป็นหุ้นละ 25 บาท
และยังคงมีจำนวนหุ้นเท่าเดิมคือหุ้นบุริมสิทธิ 930,000 หุ้นและหุ้นสามัญ 1,200,000 หุ้น
รวมเป็น 2,130,000 หุ้น ซึ่ง
บริษัทย่อยจะได้นำมติพิเศษนี้ไปจดทะเบียนกับสำนักงานทะเบียนหุ้นส่วนและบริษัทต่อไป ณ วันที่
30 มิถุนายน 2543 บริษัทย่อยอยู่ระหว่างการดำเนินการเพื่อให้เป็นไปตามมติพิเศษดังกล่าว
การลดทุนดังกล่าวข้างต้น ไม่มีผลกระทบต่อฐานะการเงินและผลการดำเนินงานของบริษัท
รอยัล ปริ๊นเซส จำกัด (มหาชน) เนื่องจากบริษัทได้รับรู้ผลขาดทุนจากบริษัทย่อยดังกล่าว จน
ทำให้เงินลงทุนในหุ้นสามัญและหุ้นบุริมสิทธิ มีมูลค่าลดลงจนเป็นศูนย์แล้ว ณ วันที่ 30 มิถุนายน
2543 บริษัทมีส่วนได้เสียในส่วนของผู้ถือหุ้นของบริษัท ทรัพย์สินธานี จำกัด โดยทางอ้อม ร้อย
ละ 79.65 และบริษัทย่อยดังกล่าวมีสินทรัพย์รวม 260.47 ล้านบาท และมีรายได้รวม
สำหรับไตรมาสและ
งวดหกเดือนสิ้นสุดวันที่ 30 มิถุนายน 2543 จำนวน 42.05 ล้านบาท และ 50.29 ล้านบาท
ตามลำดับ ซึ่งรายได้ดังกล่าวได้รวมกำไรจากการปรับโครงสร้างหนี้จำนวน 37.95 ล้านบาท
หรือร้อยละ 6.71 ร้อยละ 7.07 และร้อยละ 3.91 ของแต่ละยอดที่เกี่ยวข้องในงบการเงิน
รวม
…/4
- 4 -
ถ้าบริษัทย่อย 2 บริษัทไม่สามารถดำเนินงานอย่างต่อเนื่องได้อาจจำเป็นต้องมีการขายสินทรัพย์
หรือจ่ายชำระหนี้สินโดยมีเงื่อนไขซึ่งไม่เป็นไปตามปกติทางธุรกิจและในจำนวนเงินที่แตกต่างไป
จากที่แสดงไว้ในบัญชี งบการเงินข้างต้นนี้ยังมิได้รวมรายการปรับปรุงเกี่ยวกับมูลค่าที่จะได้รับ
คืนและการจัดประเภทของสินทรัพย์ หรือจำนวนเงินและการจัดประเภทของหนี้สินในกรณีที่บริษัท
ย่อย
ทั้ง 2 บริษัท ไม่สามารถดำเนินงานอย่างต่อเนื่องได้
2.3 งบการเงินรวมสำหรับไตรมาสและงวดหกเดือนสิ้นสุดวันที่ 30 มิถุนายน 2542 รวมงบ
การเงินของบริษัทย่อย ซึ่งยังมิได้สอบทาน โดยยอดของรายได้คิดเป็นอัตราร้อยละของรายได้
รวม มีดังต่อไปนี้
อัตรา ร้อยละ
การถือหุ้น ของรายได้รวม
ร้อยละ สำหรับไตรมาสสิ้นสุด สำหรับงวดหกเดือนสิ้นสุด
วันที่ 30 มิถุนายน 2542 วันที่ 30 มิถุนายน 2542
บริษัท ดุสิตธานี เดลาแวร์ จำกัด 100.00 0 0.50
บริษัท ดุสิตธานี อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด 99.99 0 0.01
0 0.51
นอกจากนี้ งบการเงินรวมและงบการเงินเฉพาะของบริษัทสำหรับไตรมาสและงวดหกเดือนสิ้น
สุดวันที่
30 มิถุนายน 2542 รวมส่วนได้เสียในกำไร (ขาดทุน) สุทธิ ของบริษัทย่อยและบริษัทร่วมซึ่ง
ยังมิได้
สอบทานคิดเป็นร้อยละของกำไรสุทธิได้ดังนี้
…/5
- 5 -
ร้อยละของกำไรสุทธิ
อัตรา งบการเงิน
การถือหุ้น เฉพาะของบริษัท
ร้อยละ สำหรับไตรมาสสิ้นสุด สำหรับงวดหกเดือนสิ้นสุด
วันที่ 30 มิถุนายน 2542 วันที่ 30 มิถุนายน 2542
บริษัทย่อย
บริษัท ดุสิตธานี เดลาแวร์ จำกัด 100.00 3.01 5.00
บริษัท ดุสิตธานีอินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด 99.99 (1.10) (0.67)
1.91 4.33
บริษัทร่วม
Worldclass Rent a Car Co., Ltd. 20.00 - -
- -
รวม 1.91 4.33
2.4 งบดุลและงบกำไรขาดทุนของบริษัทย่อยในต่างประเทศแปลงค่าเป็นเงินบาทโดยใช้อัตรา
แลกเปลี่ยน ณ วันที่ในงบดุลและอัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยตามลำดับ ผลต่างจากการแปลงค่า
แสดงไว้ในส่วนของผู้ถือหุ้น
3. การเปลี่ยนแปลงนโยบายการบัญชี
3.1 บริษัทและบริษัทย่อยได้ใช้นโยบายบัญชีและวิธีการคำนวณในงบการเงินระหว่างกาลเช่น
เดียวกับ
ที่ใช้ในงบการเงินสำหรับปี 2542 เนื่องจากมีมาตรฐานการบัญชีที่ออกใหม่ และมีผลบังคับใช้ตั้ง
แต่วันที่ 1 มกราคม 2543 การเปลี่ยนแปลงที่สำคัญที่เกิดขึ้น และมีผลกระทบต่อบริษัท
และบริษัทย่อย คือเรื่องที่เกี่ยวกับการนำเสนองบการเงินระหว่างกาล และการเปิดเผยข้อมูล
เกี่ยวกับบุคคลหรือกิจการที่เกี่ยวข้องกัน
…/6
- 6 -
3.2 บริษัทได้มีการเปลี่ยนแปลงวิธีการเกี่ยวกับการรับรู้ผลขาดทุนสุทธิของบริษัทย่อย ซึ่งเกิน
กว่า
เงินลงทุนในบริษัทย่อยเหล่านั้น ตั้งแต่วันที่ 30 กันยายน 2542 บริษัทบันทึกผลขาดทุนของบริษัท
ย่อยตามสัดส่วนการถือหุ้น นอกจากนั้นยังรับรู้ขาดทุนที่เกินกว่าส่วนของผู้ถือหุ้นส่วนน้อยทั้งหมดแต่
ไม่เกินหนี้สินที่บริษัทเป็นผู้ค้ำประกัน ในไตรมาสและงวดหกเดือนสิ้นสุดวันที่ 30 มิถุนายน 2542
บริษัทบันทึกผลขาดทุนของบริษัทย่อยเพียงไม่เกินเงินลงทุนและหนี้สินของบริษัทย่อยส่วนที่บริษัท
เป็นผู้ค้ำประกันตามอัตราส่วนของการลงทุนในบริษัทย่อยเหล่านั้น และได้ปรับงบการเงิน
ดังกล่าวที่นำมาเปรียบเทียบใหม่ เพื่อให้แสดงผลของการเปลี่ยนแปลงย้อนหลังไปยังปีก่อน ๆ
ด้วย เป็นผลให้กำไรต่อหุ้นในงบการเงินรวม สำหรับไตรมาสและงวดหกเดือนสิ้นสุดวันที่ 30
มิถุนายน 2542 ลดลงจากที่เคยรายงานไว้ในปีก่อน หุ้นละ (0.001) บาท และ (0.168)
บาท ตามลำดับ และในงบการเงินเฉพาะของบริษัท สำหรับไตรมาสและงวดหกเดือนสิ้นสุดวันที่
30 มิถุนายน 2542 เพิ่มขึ้น (ลดลง) จากที่เคยรายงานไว้ในปีก่อน หุ้นละ 0.010 บาท และ
(0.163) บาท ตามลำดับ
4. ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับกระแสเงินสด
4.1 เงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสด
หน่วย : พันบาท
งบการเงินรวม งบการเงินเฉพาะของบริษัท
"ยังไม่ได้ตรวจสอบ" "ยังไม่ได้ตรวจสอบ"
สำหรับงวดหกเดือนสิ้นสุด สำหรับงวดหกเดือนสิ้นสุด
วันที่ 30 มิถุนายน วันที่ 30 มิถุนายน
2543 2542 2543 2542
เงินสดและเงินฝากธนาคาร 168,140 278,089 60,873 75,818
เงินลงทุนระยะสั้น 668,508 343,749 595,829 298,906
หัก เงินฝากซึ่งมีกำหนดจ่ายคืน
เกินกว่า 3 เดือนและเงินฝาก
ที่มีภาระผูกพัน (3,308) (3,469) (2,429) (2,606)
833,340 618,369 654,273 372,118
…/7
- 7 -
4.2 เงินสดที่จ่ายสำหรับดอกเบี้ยและภาษีเงินได้มีดังนี้
หน่วย : พันบาท
งบการเงินรวม งบการเงินเฉพาะของบริษัท
สำหรับงวดหกเดือนสิ้นสุด สำหรับงวดหกเดือนสิ้นสุด
วันที่ 30 มิถุนายน วันที่ 30 มิถุนายน
2543 2542 2543 2542
ดอกเบี้ย 2,388 15,493 22 6,682
ภาษีเงินได้ 62,810 8,225 45,143 -
4.3 สำหรับงวดหกเดือนสิ้นสุดวันที่ 30 มิถุนายน 2543 และ 2542 รายการที่ไม่เกี่ยวกับ
เงินสด
มีดังต่อไปนี้
4.3.1 การบันทึกขาดทุนที่ยังไม่เกิดขึ้นจากการแปลงค่างบการเงินของบริษัทย่อยให้เป็นเงิน
บาท
ซึ่งแสดงเป็นรายการหักในส่วนของผู้ถือหุ้นในงบการเงินรวมและงบการเงินเฉพาะของบริษัท
4.3.2 การบันทึกเงินลงทุนในหลักทรัพย์ที่มีไว้เผื่อขายด้วยมูลค่ายุติธรรมและบันทึกกำไรที่ยังไม่
เกิดขึ้นในงบการเงินระหว่างกาลรวมและงบการเงินระหว่างกาลเฉพาะของบริษัทโดยแสดงไว้
ในส่วนของผู้ถือหุ้น
4.3.3 ในงบการเงินเฉพาะของบริษัท สำหรับงวดหกเดือนสิ้นสุดวันที่ 30 มิถุนายน 2543
และ 2542 คือ การรับรู้ส่วนได้เสียในขาดทุนสุทธิที่ยังไม่ได้แบ่งของบริษัทย่อยในส่วนที่เกินเงิน
ลงทุน และเกินส่วนของผู้ถือหุ้นส่วนน้อยจำนวนรวมทั้งสิ้น 72.92 ล้านบาท และ 142.74 ล้าน
บาท
ตามลำดับ เนื่องจากบริษัทจะยังคงให้การสนับสนุนทางการเงินแก่บริษัทย่อยต่อไป
4.3.4 ในงบการเงินรวมสำหรับงวดหกเดือนสิ้นสุดวันที่ 30 มิถุนายน 2543 คือ การโอนดอก
เบี้ยค้างจ่ายจำนวน 76.13 ล้านบาท เจ้าหนี้อื่นจำนวน 6.11 ล้านบาท และเงินกู้ยืมจาก
สถาบันการเงินจำนวน 240.71 ล้านบาท รวมทั้งสิ้น 322.95 ล้านบาท ของบริษัท ทรัพย์สิน
ธานี จำกัด ไปเป็นส่วนของหนี้สินระยะยาวที่ครบกำหนดชำระภายในหนึ่งปี จำนวน 160.24
ล้านบาท
และหนี้สินระยะยาวจำนวน 162.71 ล้านบาท เพื่อให้เป็นไปตามข้อกำหนดในสัญญาปรับโครง
สร้างหนี้
4.3.5 ในการเงินรวม สำหรับงวดหกเดือนสิ้นสุดวันที่ 30 มิถุนายน 2543 ดอกเบี้ยที่เจ้าหนี้
ลดให้แก่บริษัทย่อยแห่งหนึ่ง จำนวน 37.95 ล้านบาท แสดงเป็นกำไรจากการปรับโครงสร้าง
หนี้
(ดูหมายเหตุข้อ 10)
…/8
- 8 -
4.3.6 ในงบการเงินเฉพาะของบริษัทสำหรับงวดหกเดือนสิ้นสุดวันที่ 30 มิถุนายน 2543
บริษัทได้โอนธุรกิจรับจ้างบริหารโรงแรมให้แก่บริษัทย่อยแห่งหนึ่ง ตามสัญญาดังกล่าว บริษัทได้
โอน
สินทรัพย์ต่าง ๆ ไปในราคารวมทั้งสิ้น 3.86 ล้านบาท และหนี้สินรวม 1.67 ล้านบาท
และผลต่างระหว่างสินทรัพย์และหนี้สินบันทึกเป็นเงินสดรับจากการขายทรัพย์สิน
ที่เกี่ยวเนื่องกับการโอนธุรกิจรับจ้างบริหารโรงแรมจำนวน 2.19 ล้านบาท
5. เงินลงทุนระยะสั้น
ณ วันที่ 30 มิถุนายน 2543 และ วันที่ 31 ธันวาคม 2542 ในงบการเงินรวม เงินลงทุน
ระยะสั้น รวมเงินฝากประจำ จำนวน 3.31 ล้านบาท และ 3.45 ล้านบาท ตามลำดับ ซึ่งใช้
เป็นหลักประกันแก่ธนาคาร ในการออกหนังสือค้ำประกัน และใช้เป็นหลักประกันหนี้เงินกู้ของ
พนักงานที่มีต่อธนาคาร
ณ วันที่ 30 มิถุนายน 2543 และ วันที่ 31 ธันวาคม 2542 ในงบการเงินเฉพาะของบริษัท
เงินลงทุนระยะสั้น รวมเงินฝากประจำ จำนวน 2.43 ล้านบาท และ 2.61 ล้านบาท ตาม
ลำดับ ซึ่งใช้เป็นหลักประกันแก่ธนาคารในการออกหนังสือค้ำประกัน และใช้เป็นหลักประกันหนี้
เงินกู้ของพนักงานที่มีต่อธนาคาร
6. ลูกหนี้การค้า
ลูกหนี้การค้าที่ค้างชำระแยกตามอายุหนี้ที่ค้างชำระได้ดังนี้
งบการเงินรวม งบการเงินเฉพาะของบริษัท
"ยังไม่ได้ตรวจสอบ" "ยังไม่ได้ตรวจสอบ"
30 มิถุนายน 31 ธันวาคม 30 มิถุนายน 31 ธันวาคม
2543 2542 2543 2542
จำนวนรายของลูกหนี้ที่ค้างชำระ 906 1,032 531 606
หน่วย : พันบาท
ยอดหนี้ค้างชำระ
ต่ำกว่า 3 เดือน 105,217 142,908 51,334 91,213
3 เดือน ถึง 4 เดือน 3,100 2,637 2,081 1,028
มากกว่า 4 เดือน ขึ้นไป 14,006 17,170 7,426 9,458
รวม 122,323 162,715 60,841 101,699
ค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญ (17,527) (20,610) (12,872) (12,202)
…/9
- 9 -
7. เงินลงทุนและเงินให้กู้ยืม
เงินลงทุนและเงินให้กู้ยืมประกอบด้วย
7.1 กิจการที่เกี่ยวข้องกัน
หน่วย : พันบาท
งบการเงินรวม งบการเงินเฉพาะของบริษัท
"ยังไม่ได้ตรวจสอบ" "ยังไม่ได้ตรวจสอบ"
30 มิถุนายน 31 ธันวาคม 30 มิถุนายน 31 ธันวาคม
2543 2542 2543 2542
กิจการที่เกี่ยวข้องกัน
เงินลงทุนในบริษัทย่อย
และบริษัทร่วม (หมายเหตุข้อ 11) 217,742 218,967 940,320 929,367
บวก(หัก) ค่าเผื่อการด้อยค่าของเงินลงทุน - - (5,696) 6,645
รวม 217,742 218,967 934,624 936,012
7.2 เงินลงทุนอื่น ๆ ประกอบด้วย
หน่วย : พันบาท
งบการเงินรวม งบการเงินเฉพาะของบริษัท
"ยังไม่ได้ตรวจสอบ" "ยังไม่ได้ตรวจสอบ"
30 มิถุนายน 31 ธันวาคม 30 มิถุนายน 31 ธันวาคม
2543 2542 2543 2542
หลักทรัพย์ที่มีไว้เผื่อขาย
ตราสารทุน
ราคาทุน 53,743 43,744 5,314 5,314
บวก(หัก) บัญชีปรับมูลค่าของหลักทรัพย์ (2,851) 9,197 2,845 2,552
รวม 50,892 52,941 8,159 7,866
เงินลงทุนทั่วไป
ตราสารทุน 60,470 60,470 21,000 21,000
หัก ค่าเผื่อการด้อยค่าของหลักทรัพย์ (53,823) (51,921) (21,000) (21,000)
6,647 8,549 - -
รวม 57,539 61,490 8,159 7,866
เงินลงทุนดังกล่าวข้างต้น ได้มีการจัดประเภทตามมาตรฐานการบัญชีฉบับที่ 40 เรื่อง การบัญชี
สำหรับเงินลงทุนในตราสารหนี้และตราสารทุน
…/10
- 10 -
8. หนี้สินระยะยาวที่แปลงสภาพเป็นหนี้สินหมุนเวียนตามผลแห่งสัญญา
ณ วันที่ 30 มิถุนายน 2543 และ วันที่ 31 ธันวาคม 2542 บริษัทย่อยแห่งหนึ่ง คือ บริษัท
โคราชธานี จำกัด
ไม่สามารถปฏิบัติตามเงื่อนไขตามที่ระบุไว้ในสัญญากู้ยืมเงินได้ และในเดือนธันวาคม 2542 ผู้
ให้กู้ยืมได้ยื่นฟ้องบริษัทให้ชำระหนี้แล้ว จึงโอนเงินกู้ยืมจำนวน 240.00 ล้านบาท ไปเป็นหนี้สิน
ระยะยาว
ที่แปลงสภาพเป็นหนี้สินหมุนเวียนตามผลแห่งสัญญา ซึ่งหนี้สินดังกล่าวค้ำประกันโดยการจด
จำนองที่ดินพร้อมอาคารโรงแรมของบริษัทย่อย และบริษัท รอยัล ปริ๊นเซส จำกัด (มหาชน)
ค้ำประกันด้วยอีก
ส่วนหนึ่ง
9. เงินกู้ยืมระยะยาว
เมื่อวันที่ 28 มีนาคม 2543 บริษัทย่อยแห่งหนึ่ง คือ บริษัท ทรัพย์สินธานี จำกัด ได้ทำสัญญา
ปรับโครงสร้างหนี้กับบริษัทเงินทุนแห่งหนึ่ง เงื่อนไขในสัญญาดังกล่าวมีสาระสำคัญดังต่อไปนี้
ยอดหนี้ค้างชำระจนถึงวันที่ปรับโครงสร้างหนี้ ประกอบด้วยรายละเอียดดังต่อไปนี้
หน่วย : พันบาท
เงินต้น 240,712
ดอกเบี้ยค้างชำระ 74,324
ค่าธรรมเนียมป้องกันความเสี่ยงของอัตราแลกเปลี่ยนค้างจ่าย 6,108
รวม 321,144
เมื่อวันที่ 31 พฤษภาคม 2543 จำนวนเงินที่บริษัท รอยัล ปริ๊นเซส จำกัด (มหาชน) ได้ชำระ
หนี้ให้แก่เจ้าหนี้ในฐานะผู้ค้ำประกัน มีดังต่อไปนี้
หน่วย : พันบาท
เงินต้น 151,338
ดอกเบี้ยค้างชำระ 5,057
ค่าธรรมเนียมป้องกันความเสี่ยงของอัตราแลกเปลี่ยนค้างจ่าย 3,840
รวม 160,235
เมื่อบริษัท รอยัล ปริ๊นเซส จำกัด (มหาชน) ได้ชำระเงินจำนวน 160.23 ล้านบาท ให้แก่
เจ้าหนี้
แล้ว เจ้าหนี้ได้ลดดอกเบี้ยให้แก่บริษัทย่อยเป็นจำนวนเงิน 37.95 ล้านบาท (ดูหมายเหตุข้อ
10) ดังนั้น
ยอดหนี้คงเหลือที่บริษัทย่อยต้องชำระมีดังต่อไปนี้
1. เงินต้นค้างชำระ จำนวน 89.37 ล้านบาท จะมีการผ่อนชำระเป็นรายงวดจำนวน 32
งวด ทุกไตรมาสเป็นเงินงวดละ 2.79 ล้านบาท ตั้งแต่วันที่ 31 พฤษภาคม 2545 ถึงวันที่ 31
พฤษภาคม 2553
2. ดอกเบี้ยและค่าธรรมเนียมป้องกันความเสี่ยงของอัตราแลกเปลี่ยนค้างจ่ายรวมทั้งสิ้น
33.58 ล้านบาท ชำระให้เสร็จสิ้นภายในวันที่ 31 พฤษภาคม 2545
…/11
- 11 -
นอกจากที่กล่าวมาข้างต้นบริษัทย่อยจะต้องชำระดอกเบี้ยให้แก่เจ้าหนี้ดังต่อไปนี้
1. ดอกเบี้ยจากเงินต้น จำนวน 240.71 ล้านบาท อัตราดอกเบี้ยร้อยละ 8.25 ต่อปี
สำหรับระยะเวลา
ตั้งแต่วันที่ 29 มีนาคม 2543 ถึงวันที่ 31 พฤษภาคม 2543 ต้องชำระให้เสร็จสิ้นภายในวันที่
31 พฤษภาคม 2545
2. ดอกเบี้ยจากเงินต้นค้างชำระ ตั้งแต่ระยะเวลาวันที่ 1 มิถุนายน 2543 ถึงวันที่ 31
พฤษภาคม 2553 อัตราดอกเบี้ย MLR ต่อปี มีการแบ่งชำระเป็น 2 ส่วน ดังนี้
ส่วนที่ 1 ชำระทุกเดือนในอัตราดังต่อไปนี้
ตั้งแต่วันที่ 1 มิถุนายน 2543 ถึงวันที่ 30 พฤศจิกายน 2543 ในอัตราร้อยละ 2 ต่อปี
ตั้งแต่วันที่ 1 ธันวาคม 2543 ถึงวันที่ 31 พฤษภาคม 2545 ในอัตราร้อยละ 4 ต่อปี
ตั้งแต่วันที่ 1 มิถุนายน 2545 ถึงวันที่ 31 พฤษภาคม 2553 ชำระในอัตราร้อยละ MLR ต่อปี
ส่วนที่ 2 ส่วนต่างของดอกเบี้ยระหว่างจำนวนที่ชำระไปแล้วกับจำนวนที่คำนวณตามอัตรา MLR
ต่อปี ตั้งแต่วันที่ 1 มิถุนายน 2543 ถึงวันที่ 31 พฤษภาคม 2545 ต้องชำระให้เสร็จสิ้นภายใน
วันที่ 31 พฤษภาคม 2545
นอกจากนั้นสัญญาปรับโครงสร้างหนี้ยังได้ระบุเงื่อนไขบางประการเกี่ยวกับการโอนขายทรัพย์
หลักประกันให้แก่บุคคลภายนอกและนำเงินมาชำระหนี้ การโอนทรัพย์หลักประกันชำระหนี้
และมีการกำหนดข้อจำกัดในการจ่ายเงินปันผลของบริษัทย่อยไว้ด้วย
ณ วันที่ 30 มิถุนายน 2543 และวันที่ 31 ธันวาคม 2542 เงินกู้ยืมระยะยาว ประกอบด้วย
หน่วย : พันบาท
งบการเงินรวม
อัตราดอกเบี้ย 30 มิถุนายน 31 ธันวาคม
2543 2542
เงินกู้ยืมของบริษัท ทรัพย์สินธานี จำกัด ตามสัญญาปรับโครงสร้างหนี้ 126,994 -
เงินกู้ยืมจากสถาบันการเงินโดยบริษัท รอยัล ปริ๊นเซส จำกัด (มหาชน)
มีกำหนดชำระคืนทุกปีจนถึงปี 2543 MLR + 0.75% 19,000 78,000
จนถึงปี 2546 MLR 160,000 -
เงินกู้ยืมระยะยาวโดย Philippine Hoteliers, Inc. SIBOR+1.60% 39,060 112,835
345,054 190,835
หัก ส่วนที่ครบกำหนดชำระภายในหนึ่งปี (78,060) (78,000)
รวม 266,994 112,835
…/12
- 12 -
เงินกู้ยืมจากสถาบันการเงินโดยบริษัท รอยัล ปริ๊นเซส จำกัด (มหาชน) มีกำหนดชำระคืนทุก
ปีจนถึงปี 2546 มีการจำนองที่ดินเป็นประกัน โดยเพิ่มวงเงินจำนองจาก 200.00 ล้านบาท
เป็น 400.00 ล้านบาท
10. กำไรจากการปรับโครงสร้างหนี้
กำไรจากการปรับโครงสร้างหนี้ คือกำไรที่เกิดจากการที่เจ้าหนี้ลดดอกเบี้ยให้แก่บริษัท ทรัพย์
สินธานี จำกัด เป็นจำนวนเงิน 37.95 ล้านบาท หลังจากที่บริษัท รอยัล ปริ๊นเซส จำกัด
(มหาชน) ซึ่งเป็น
ผู้ค้ำประกัน ชำระหนี้แทนให้ส่วนหนึ่ง เมื่อวันที่ 31 พฤษภาคม 2543
11. รายการระหว่างบริษัทที่เกี่ยวข้อง
รายการระหว่างบริษัทที่เกี่ยวข้องมีดังต่อไปนี้
11.1 เงินลงทุนในบริษัทย่อย บริษัทร่วมและบริษัทที่เกี่ยวข้อง
30 มิถุนายน 2543
หน่วย : พันบาท
งบการเงินเฉพาะของบริษัท งบการเงินรวม
ชื่อบริษัท ประเภทกิจการ ลักษณะ ทุนชำระแล้ว สัดส่วน เงินลงทุน
ความสัมพันธ์ เงินลงทุน (%) วิธีราคาทุน วิธีส่วนได้เสีย
บริษัทย่อย
1. บริษัท ดุสิตโฮเต็ล แอนด์ รีสอร์ท จำกัด
(เดิมชื่อ บริษัท ดุสิตรีสอร์ท ขายห้องชุด
ชะอำ จำกัด และรับจ้างบริหาร เป็นบริษัทย่อย 225,000 97.41 404,212 0 0
2. บริษัท รอยัลปริ๊นเซส จำกัด (มหาชน) โรงแรมและ
รับจ้างบริหาร " 600,000 79.65 780,047 311,217 0
3. Philippine Hoteliers, Inc. โรงแรม " PESO 409,870 85.76 688,948 618,676 0
4. บริษัท ดุสิตธานีเดลาแวร์ จำกัด ลงทุนในบริษัทอื่น " US$ 850 100.00 0 0 0
5. บริษัท ดุสิตธานีอินเตอร์
(ยังมีต่อ)